"ภาวะออฟฟิศซินโดรม" ถือว่าเป็นอาการยอดฮิตของคนยุคใหม่ เพราะพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน ตั้งแต่การทำงานที่บ้าน (Work from home), การใช้มือถือ, การเล่นเกม หรือแม้แต่การดูภาพยนตร์ผ่านแอปพลิเคชัน ก็มักดึงดูดให้เราต้องอยู่หน้าจอนาน ๆ และหากนั่งผิดวิธีก็ทำให้อาการปวดตึงตามจุดต่าง ๆ ตามมาได้ ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายที่เข้ามาช่วยแก้อาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้น แต่มีวิธีหนึ่งที่ง่ายมากจนคุณอาจนึกไม่ถึง และที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว นั่นก็คือ "การนวดมือ"
กล้ามเนื้อของคนเราโดยเฉพาะส่วนนิ้วและฝ่ามือจะมีเส้นประสาทที่ยืดโยงกันไปมากับอวัยวะหลายส่วน เช่น
จึงเป็นที่มาของศาสตร์ที่ว่าด้วย "การกดจุดที่มือ" เพื่อคลายเส้นที่ตึงเปรี๊ยะ เพิ่มการไหลเวียนของกล้ามเนื้อ โดยไม่ต้องนวดตามบริเวณที่ปวดด้วยซ้ำ นอกจากนี้ทุกคนยังสามารถฝึกนวดมือได้ด้วยตัวเองเมื่อเกิดอาการปวดต่าง ๆ ในขณะนั่งทำงาน
วิธีนวด: ใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ทำสลับกันกับมือทั้งสองข้าง เพียง 10 -15 นาทีต่อวัน
ประโยชน์: ร่างกายก็จะปรับสมดุลให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมอง กระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุข ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด และลดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย
วิธีนวด: ใช้นิ้วโป้งกดตรงไปที่ตำแหน่งหลังมือ บริเวณง่ามมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่ง “กด”แล้ว “ปล่อย” ให้รู้สึกหน่วง ๆ และเป็นจังหวะทั่วบริเวณง่ามมือ ทำแบบนี้ประมาณ 1 - 2 นาที
ประโยชน์ : ตำแหน่งง่ามมือด้านหลัง ทางศาตร์การแพทย์ของจีนเรียกจุดนี้ว่า “จุดเหอกู่” การกดจุดบริเวณนี้จะช่วยเปิดลมปราณให้ไหลเวียนในร่างกายได้สะดวกขึ้น และกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทให้คลายอาการปวดหัวได้ดี นอกจากนี้ยังบรรเทาอาการปวดฟัน และปวดประจำเดือนได้ด้วย
วิธีนวด:
** สำหรับข้อนิ้วที่มีปัญหา ให้นวดคลึงเบา ๆ ไล่โคนนิ้วขึ้นไปจนถึงปลายนิ้ว โดยเน้นตามข้อ**
ประโยชน์: ลดการตึงของกล้ามเนื้อตามข้อนิ้ว, ลดการติดขัดของนิ้วขณะเคลื่อนไหว
วิธีนวด:
ประโยชน์: เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ เพราะร่องนิ้วมือเป็นจุดสะท้อนของ “กล้ามเนื้อคอ” ทั้งบน-กลาง-ล่าง รวมไปถึงสะบัก (กระดูกที่อยู่ข้างหลังเป็นคล้ายปีก)
วิธีบริหารนิ้ว:
ประโยชน์: ช่วยขยายเส้นเอ็นที่ข้อมือ ทำให้เลือดไหลเวียนทั่วฝ่ามือได้ดีขึ้น
การนวดหรือการบริหารมือสามารถช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ก็จริง แต่หากคุณยังใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมทำงานหนัก โดยไม่หยุดพัก อาการปวดเหล่านั้นก็จะกลับมาใหม่ วิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรมอย่างยั่งยืน เราสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน และปรับพฤติกรรมของตัวเองใหม่ได้
แนะนำให้ทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที โดยเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมความแข็งแรงและยืด-ขยายกล้ามเนื้อ เช่น แอโรบิก, โยคะ และเวตเทรนนิง (Weight training) ด้วยการใช้อุปกรณ์ดัมเบลล์ บาร์เบล ยางยืด
เมื่อเกิดอาการปวดหรือชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจนำไปสู่โรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกตามมา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูล: arthritis.org, รายการปรับก่อนป่วย ThaiPBS, วารสารทางวิชาการแพทย์ทหาร, medicalnewstoday.com